ยินดีต้อนรับ สู่ กศน.ตำบลลาดงา

ข้อมูลตำบล



ข้อมูลพื้นฐานตำบลลาดงา
          ---------------------------------------------

๑. ประวัติความเป็นมา
           ตำบลลาดงา เดิมเป็น ลากงาได้คำมาจากเมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กองทัพกรุงศรีอยุธยากลับจากทำสงครามกับพม่า ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ช้างศึกเชือกสำคัญของกองทัพได้ต่อสู้กับช้างศึกพม่าได้รับบาดเจ็บสาหัส งาทั้งนั่งหักห้อยมา การเดินทัพได้เดินอย่างรีบเร่ง ทั้งที่ได้รับบาดเจ็บ งาที่หักลากครูดมากับดิน นายทัพสงสารจึงให้พักทัพชั่วคราวแล้วเดินทางต่อช้างศึกเชือกนั้นได้ตายลงใน ลำรางเขตตำบลหัวเวียง ต่อมาเรียกลำรางช้างตาย ส่วนงาช้างที่ตายนำกลับจึงต้องผูกเชือกลากไป ท้องที่ที่ช้างลากงาและเขตที่เริ่มลากงาไปเรียกว่า บ้านลากงาต่อมาได้เปลี่ยนมาเป็น ลาดงา

๒. สภาพทั่วไป
          ๒.๑  ที่ตั้ง
             ตำบลลาดงา อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอเสนา ไปทางทิศเหนือประมาณ ๗ กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ประมาณ ๒๙ กิโลเมตร  เป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่เป็นทุ่งนากว้างใหญ่ สภาพเดิมเป็นดินเหนียว และบางส่วนเป็นดินทรายมีแหล่งน้ำธรรมชาติหลายสายเหมาะแก่การเพาะปลูก
แบ่งเขตการปกครอง เป็น ๙ หมู่บ้าน
ประกอบด้วยหมู่บ้าน หมู่๑ บ้านคลองตะเคียน , หมู่๒ บ้านยั่นซื้อ , หมู่๓ บ้านมาบศาลา , หมู่๔ บ้านหมู่ตาล , หมู่๕ บ้านไผ่ขวาง , หมู่๖ บ้านหนองโน , หมู่๗ บ้านรางเสาธง , หมู่๘ บ้านหมู่ใหญ่ , หมู่๙ บ้านคลองมอญ
๒.๒ อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ                           ติดกับ ตำบลลาดชิด อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา
ทิศใต้                            ติดกับ ตำบลรางจระเข้ อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันออก                   ติดกับ ตำบลหัวเวียง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา
ทิศตะวันตก                    ติดกับ ตำบลปลายกลัด อ.บางซ้าย จ.พระนครศรีอยุธยา

          ๒.๓   เนื้อที่ 
 ตำบลลาดงา  มีเนื้อที่ประมาณ ๑๖.๔  ตารางกิโลเมตร หรือ  ๑๐,๒๕๐ ไร่ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง  มีลำคลองไหลผ่านส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม ๖,๑๕๐ ไร่ และอื่นๆ ประมาณ ๔,๑๐๐ไร่
๒.๔  ภูมิประเทศ
เป็นที่ราบลุ่มมีลำคลอง  ลำรางไหลผ่าน เหมาะแก่การทำการเกษตรกรรม
๒.๕  ประชากร/ครัวเรือน/รายได้
จำนวนครัวเรือน...............๗๕๙............ครัวเรือน       
                   จำนวนประชากร.................๓,๔๘๐...........คน          
                   แยกเป็น          ชาย...........๑,๖๙๒.........คน          
                   หญิง..........๑,๗๘๘........คน          


๓.  สภาพทางเศรษฐกิจ
          ๓.๑ การประกอบอาชีพ
อาชีพหลัก  ประกอบอาชีพหลัก......ทำนา.....
อาชีพรอง   ประกอบอาชีพรอง........รับจ้างทั่วไป / ทำโบว์ พวงมาลัย

          ๓.๒ หน่วยงาน/หน่วยธุรกิจในพื้นที่
                   ๑.  ปั้มน้ำมัน              จำนวน....................๔.............................แห่ง(รวมปั้มหลอด)
                   ๒.  โรงบรรจุก๊าซ          จำนวน....................-............................แห่ง
                   ๓.  โรงงานอุตสาหกรรม  จำนวน.....................-...........................แห่ง

๔.  สถานภาพทางสังคม
          ๔.๑  การศึกษา
                   -   โรงเรียนประถมศึกษา  (สพฐ.)                                 จำนวน......๒.........แห่ง
                   -    ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                                            จำนวน.......๒.......แห่ง
                   -    ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน      จำนวน......-.......แห่ง
                   -   ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน                              จำนวน......-......แห่ง
                   -   ห้องสมุดประชาชน                                              จำนวน......-.........แห่ง
          ๔.๒  สถาบันทางศาสนา
                   -   วัด/สำนักสงฆ์.................๑..................แห่ง
                   -   โบสถ์คริสต์..................-...................  แห่ง
                   -    มัสยิด.......................-.........................แห่ง
          ๔.๓  การสาธารณสุข
                   -    โรงพยาบาล ................-....................แห่ง
                   -     สถานีอนามัย...............๑...................แห่ง
                   -    โรงพยาบาลเอกชน........-.................แห่ง
                   -    ร้านขายยา......................-................แห่ง
                   -    การบริการสมุนไพร..........-.............แห่ง
          ๔.๔  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                   -    สถานีตำรวจ…………-…………..แห่ง
                   -    สถานีดับเพลิง…………-………..แห่ง
                    -    สถานีตำรวจชุมชน/อปพร.....๑.......แห่ง
                    -    อื่น ๆ.........................-...................แห่ง
          ๔.๕  การบริการขั้นพื้นฐาน
                   -   การคมนาคม………………………เส้น
                   -    การโทรคมนาคม..............๗................แห่ง
                   -    สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน........-........แห่ง
                  

                  
                   -    แหล่งน้ำธรรมชาติ..............๕............สาย
                   -     แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น..............๙............แห่ง
                    -    สวนสาธารณะ................-...................แห่ง
                   -    อื่น ๆ .........................-.......................แห่ง

๔.๖  สถาบันกลุ่ม/องค์กร/เครือข่าย
                   -    กลุ่มจากการจัดตั้ง  เช่น  กองทุนหมู่บ้าน  จำนวน  ๙ กองทุน
                   -    องค์กร  คณะกรรมการฯ  เช่น  อาสาสมัครหมู่บ้าน(อสม.) / กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา
                        (กพสม.) /อาสาสมัครพลังแผ่นดิน
                   -    เครือข่ายต่าง ๆ  เช่น เครือข่ายกองทุน/เครือข่าย  อสม./เครือข่ายวิทยุชุมชน

          ๔.๗  ข้อมูลอื่นๆ
                   -    มุมมองเกี่ยวกับกระบวนการจัดการภายในชุมชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น